วันศุกร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บทที่ 9 E-Government

ความหมาย e-government
ประกอบด้วยหลักการที่เป็นแนวทาง 4 ประการคือ
     1. สร้างบริการตามความต้องการของประชาชน
     2. ทำให้รัฐและการบริการของรัฐเข้าถึงได้มากขึ้น
     3. เกิดประโยชน์แก่สังคมโดยทั่วกัน
     4. มีการใช้สารสนเทศที่ดีกว่าเดิม

e-government คือ วิธีการบิรหารจัดการภาครัฐสมัยใหม่ที่เน้นการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเครือข่ายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของผลงานภาครัฐ และปรับปรุงการบริการแก่ประชาชน และการบริการด้านข้อมูลเพื่อเพิ่มอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ

1. รัฐ กับ ประชาชน (G2B)
     เป็นการให้บริการของรัฐสู่ประชาชนโดยตรง โดยที่บริการดังกล่าวประชาชนจะสามารถดำเนินธุรกรรม โดยผ่านเครือข่ายสารสนเทศของรัฐ

2. รัฐ กับ เอกชน (G2B)
     เป็นการให้บริการภาคธุรกิจเอกชน โดยที่รัฐจะอำนวยความสะดวกต่อภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมให้สามารถแข่งขันกันโดยความเร็วสูง มีประสิทธิภาพ

3. รัฐ กับ รัฐ (G2G)
     เป็นรูปแบบการทำงานที่เปลี่ยนเเปลงไปมากของหน่วยราชการ ที่การติดต่อสื่อสารระหว่างกันโดยกระดาษและลายเซ็นต์ในระบบเดิมในระบบราชการเดิม จะมีการเปลี่ยนแปลงไปด้วยการใช้ระบบเครือข่ายสารสนเทศ และ ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็นเครื่องมือในการแลกเปลี่ยนข้อมูลอย่างเป็นทางการเพื่อเพิ่มความเร็วในการดำเนินการ ลดระยะเวลาในการส่งเอกสารและข้อมูลระหว่างกัน

4. รัฐ กับ ข้าราชการและพนักงานของรัฐ (G2E)
     เป็นการให้บริการที่จำเป็นของพนักงานของรัฐกับรัฐบาล โดยที่จะสร้างระบบเพื่อช่วยให้เกิดเครื่องมือที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน และการดำรงชีวิต

ตัวอย่างโครงการ
การจัดซื้อจัดจ้างอิเล็กทรอนิกส์ของรัฐบาล
     เป็นกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานของรัฐ บนระบบอินเตอร์เน็ตด้วยกิจกรรม
     - การตกลงราคา
     - การประกวดราคา
     - การจัดซื้อด้วยวิธีพิเศษ
     - การประมูล

วัตถุประสงค์การจัดซื้อจัดจ้างอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ (E-Procurement)
     - เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดจ้างสินค้าและบริการให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้
     - เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์อันดีไม่ว่าจะเป็นกระบวนการตรวจสอบและการเปิดเผยต่อสาธารณะชน
     - เพื่อประหยัดงบประมาณค่าใช้จ่ายจากที่เดิมที่มักจะจัดซื้อจัดจ้างในราคาที่ค่อนข้างสูง

1.ระบบ E-Tending ระบบการยื่นประมูลอิเล็กทรอนิกส์ เป็นระบบการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่มีมูลค่าสูง กระบวนการสลับซับซ้อน

2.ระบบ E-Purchasing ระบบจัดซื้อจัดจ้างอิเล็กทรอนิกส์ แบ่งออกเป็น 2 ระบบย่อย
     - ระบบ E-Shopping ระบบการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่มีมูลค่าไม่สูง กระบวนการสลับซับซ้อนไม่มาก  การลงทุนเพื่อจัดทำระบบ E-Shopping จะมีความคุ้มทุนก็ต่อเมื่อมีความถี่ในการซื้อสินค้าบ่อยครั้ง
     - ระบบ E-Auction เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้างและบริการที่มีมูลค่าสูงหรือประมาณมาก และมีกระบวนการดำเนินงานที่ไม่สลับซับซ้อนมากนัก




บทที่ 8 E-marketing

E-Marketing ย่อมาจากคำว่า Electronic
Marketing หรือเรียกว่า "การตลาดอิเล็กทรอนิกส์"
     การดำเนินกิจกรรมทางการตลาดโดยใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ที่ทันสมัยและสะดวกต่องการใช้งาน เข้ามาเป็นสื่อกลาง มาผสมผสานกับวิธีการทางการตลาด

วัตถุประสงค์ของโครงสร้างการทำ E-marketing Plan
     - Cost reduction and value chain efficiencies
     - Revenue generation
     - Channel partnership
     - Communications and branding


ข้อดีของ E-Marketing เมื่อเทียบกับสื่ออื่น
     1. เข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายมากกว่า 800 ล้านคน 225 ประเทศ 104 ภาษา
     2. สามารถวัดผลได้แม่นยำกว่าสื่ออื่น
     3. ราคาลงโฆษณาถูกกว่าเมื่อเทียบกับสื่ออื่น
     4. จำนวนผู้ใช้สื่อนี้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
     5. คุณภาพของผู้ใช้มีมากกว่าสื่ออื่น

การเริ่มต้นการตลาดออนไลน์
     1. กำหนดเป้าหมาย
     2. ศึกษาคู่แข่ง
     3. สร้างพันธมิตร
     4. ติดตั้งอุปกรณ์จำเป็น
     5. ดูแลและปรับปรุงเว็บไซต์


รูปแบบรายได้จากการทำเว็บไซต์
     1. ขายโฆษณาออนไลน์
     2. ขายสินค้า E-Commerce
     3. ขายบริการหรือสมาชิก
     4. ขายข้อมูล (Content)
     5. การจัดกิจกรรม,งาน
     6. การให้บริการผ่านโทรศัพท์มือถือ
     7. การรับพัฒนาเว็บไซต์










บทที่ 7 Supply Chain Management

Supply Chain Management
Enterprise Resource Planning
Customer Relation Management

การใช้กลยุทธ์เดิมๆ คือ การเร่งพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์และบริการให้มีความโดดเด่นและใช้กลยุทธ์ด้านราคาด้วยการลดต้นทุนและตัดค่าใช้จ่ายลง แต่ในปัจจุบันมีแนวความคิดที่กำลังได้รับความสนใจ และให้ความสำคัญกันมากคือ การบริหารซัพพลายเชน (Supply Chain Management : SCM)

Supply Chain Management
ระบบที่จัดการการบริหารและเชื่อมโยงเครือข่ายตั้งแต่ suppliers, manufacturers, distributors เพื่อส่งมอบสินค้า หรือบริการให้ลูกค้าโดยมีการเชื่อมโยงระบบข้อมูล วัตถุดิบ สินค้าและบริการ เงินทุน รวมถึงการส่งมอบเข้าด้วยกัน



ขั้นตอนวิวัฒนาการไปสู่ระบบการจัดการซัพพลายเชน
   เข้าสู่กระบวนบริหารซัพพลายเชน 4 ระยะ คือ

ระยะที่ 1 องค์กรในรูปแบบพื้นฐาน (The Baseline Organization)
     เป็นรูปแบบการบริหารจัดการแบบดั้งเดิมที่ต้องการสร้างผลกำไรสูงสุดขององค์กรโดยเน้นความชำนาญในการทำงานของแต่ละแผนก/ฝ่าย

ระยะที่ 2 องค์กรที่รวมหน้าที่ทางธุรกิจเข้าด้วยกัน (The Functionally Integrated Company)
     ในระยะนี้องค์กรจะเริ่มจัดตั้งเป็นบริษัท โดยในองค์กรได้มีการรวบรวมหน้าที่/ลักษณะงานที่เป็นประเภทเดียวกันหรือคล้ายคลึงกันไว้ในกลุ่มงาน/ ฝ่ายเดียวกัน ซึ่งจะไม่มีการแบ่งแยกหน้าที่ความรับผิดชอบออกจากกันอย่างเด็ดขาดเหมือนระยะแรก

ระยะที่ 3 องค์กรที่รวมการดำเนินงานภายในธุรกิจไว้ด้วยกัน (The Internally Integrated Company)
     มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันทำให้มีการติดต่อประสานงานเชื่อมโยงระหว่างฝ่ายงานมากขึ้น การทำงานจึงมีความต่อเนื่องกันเหมือนห่วงโซ่

ระยะที่ 4 องค์กรที่รวมการดำเนินงานภายนอกธุรกิจไว้ด้วยกัน (The Externally Integrated Company)
     ระยะนี้เป็นระยะที่บริษัทก้าวเข้าสู่รูปแบบการบริหารแบบซัพพลายเชนอย่างเต็มตัว โดยบริษัทได้ปรับโครงสร้างการบริหารแบบซัพพลายเชนภายในบริษัทของตนเองไว้เรียบร้อยแล้ว

การบริหารจัดการซัพพลายเชน
     เป็นการจัดการที่ต้องอาศัยความร่วมมือของคู่ค้าที่เกี่ยวข้องในซัพพลายเชนเราเป็นสำคัญ องค์กรที่มีความรู้ในการบริหารจัดการดีควรต้องถ่ายทอดแนวคิดและวิธีการปรับปรุงระบบงานและการประสานงานระหว่างองค์กรให้แก่องค์กรอื่นๆ ในซัพพลายเชน
1. ศักยภาพในการประสานระบบการจัดการระหว่างกลุ่ม suppliers (Supply-management interface capabilities)
     เพื่อให้ระบบปฏิบัติการโดยรวมมีต้นทุนต่ำที่สุด มีระบบโลจิสติกส์ในการส่งผ่านวัตถุดิบ ผลิต และส่งมอบสินค้าที่มีประสิทธิภาพ
2. ศักยภาพในการประสานระบบการจัดการให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า (Demand-management interface capabilities)
   เป็นระบบการบริหารจัดการเพื่อการให้บริการที่มีคุณภาพและการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า ทั้งก่อน ระหว่าง และภายหลังการขาย
3. ศักยภาพในการประสานระบบการจัดการสารสนเทศ (Information management capabilities)
     ระบบสื่อสารระหว่างองค์กรในซัพพลายเชนมีความสำคัญอย่างยิ่ง ก่อนที่บริษัทข้ามชาติจะเริ่มต้นประกอบการในประเทศต่างๆ จะต้องมีการวางโครงสร้างพื้นฐานทาง IT พิจารณาวางแผนกับปัญหาในเรื่องการประสานข้อมูลต่างๆ

ปัญหาของการจัดการซัพพลายเชน
1. ปัญหารจากการพยากรณ์
     การพยากรณ์ที่ผิดพลาดมีส่วนสำคัญที่ทำให้การวางแผนการผลิตผิดพลาดและอาจจะทำให้ผู้ผลิตมีสินค้าไม่เพียงพอกับความต้องการของลูกค้าที่เกิดขึ้น
2. ปัญหาในกระบวนการผลิต
     ปัญหาที่เกิดจากกระบวนการผลิตอาจจะทำให้ไม่สามารถผลิตสินค้าได้ตามเวลาที่กำหนดไว้
3. ปัญหาด้านคุณภาพ
     อาจจะส่งผลให้กระบวนการผลิตต้องหยุดชะงัก และทำให้ไม่สามารถส่งมอบสินค้าให้แก่ลูกค้าได้ตามที่กำหนดไว้
4. ปัญหาในการส่งมอบสินค้า
     การส่งมอบที่ล่าช้าเกิดขึ้นได้ตั้งแต่เรื่องของวัตถุดิบ งานระหว่างทำ และสินค้าสำเร็จรูป เช่น ซัพพลายเออร์ส่งมอบวัตถุดิบล่าช้า ทำให้ผู้ผลิตไม่สามารถผลิตสินค้าได้ตามตารางการผลิตที่กำหนดไว้
5. ปัญหาด้านสารสนเทศ
     สารสนเทศที่ผิดพลาดมีผลกระทบต่อการจัดการโซ่อุปทาน ซึ่งทำให้การผลิตและการส่งมอบสินค้าผิดไปจากที่กำหนดไว้
6. ปัญหาจากลูกค้า
     ปัญหาที่เกิดจากลูกค้าเป็นความไม่แน่นอนอย่างหนึ่งของโซ่อุปทาน



เทคโนโลยีสารสนเทศในซัพพลายเชน
     การจัดระบบซัพพลายเชนให้มีประสิทธิภาพนั้น มีองค์ประกอบที่สำคัญไม่ว่าจะเป็นการจัดการในเรื่องความต้องการของผู้บริโภคที่มีต่อสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ ให้ใกล้เคียงความจริงมากที่สุด

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ (e-Business)
     ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ (e-Business) หรือในบางครั้งเรียกว่า พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) เป็นการใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ในกระบวนการทางธุรกิจและการดำเนินงานระหว่างธุรกิจกับธุรกิจและระหว่างบุคคลกับธุรกิจ
     - เกิดการประหยัดต้นทุน
     - ลดการใช้คนกลางในการดำเนินธุรกิจ
     - ลดกิจกรรมที่ไม่จำเป็นระหว่างโซ่อุปทาน
     - ทำให้ผู้บริโภคได้รับประโยชน์จากสารสนเทศมากขึ้น

การใช้บาร์โค้ด (Bar code)
     เป็นสัญลักษณ์ที่อยู่ในรูปของแท่งบาร์ ซึ่งบาร์เหล่านี้จะเป็นตัวแทนของตัวเลขและตัวอักษร สามารถอ่านด้วยเครื่อง scanner ทำหน้าที่ในการจัดเก็บข้อมูลต่างๆ

การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (EDI : Electronic Data Interchange)
     เป็นระบบถ่ายทอดข่าวสารข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งในรูปสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ โดยรูปแบบข่าวสารข้อมูลนั้นจะมีการจัดรูปแบบและความเป็นมาตรฐานเดียวกันตามที่ได้ตกลงกันไว้


สรุปบทที่6 Supply chain management

Supply Chain Management

-การจัดกลุ่มของกิจกรรมงาน กล่าวคือ ตั้งแต่การรับวัตถุดิบมาจาก Supplies แล้วเปลี่ยนวัตถุดิบให้เป็นสินค้าขั้นกลาง และสินค้าขั้นสุดท้าย จนกระทั่งจัดส่งสินค้าให้แก่ลูกค้า
-สิ่งที่จะทำให้เข้าใจถึงหน้าที่ของการผลิตและวิธีการควบคุมการผลิตนั้น มีอยู่ 2 สิ่งหลักๆ คือ
     - วัตถุดิบ (Materials)
     - สารสนเทศ (Information)

ปัญหาคือความสนใจที่แตกต่างกันของผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น
     - ลูกค้ามักต้องการสินค้าที่ถูกต้องสมบูรณ์แบบและมีราคาถูก
     - พนักงานในสายการผลิตอยากรู้คำสั่งที่ถูกต้อง
     - ฝ่ายจัดซื้อต้องการได้วัตถุดิบที่ถูกต้อง มีคุณภาพ
     - ผู้จำหน่ายวัตถุดิบต้องการคำสั่งซื้อที่ถูกต้องเพื่อจะได้จัดส่งได้ถูกต้อง
     - ผู้จัดการต้องการรายงานที่ถูกต้อง

ประโยชน์ของการทำ SCM
     - การเคลื่อนไหวของวัตถุดิบและสารสนเทศเป็นไปอย่างราบรื่น
     - ปรับปรุงระดับของสินค้าคงเหลือ
     - เพิ่มความเร็วได้มากขึ้น
     - ขจัดความสิ้นเปลืองหรือความสูญเปล่าต่างๆ ในกระบวนการทางธุรกิจให้หมดได้
     - ลดต้นทุนในกิจกรรมต่างๆ ได้
     - ปรับปรุงการบริการลูกค้า

การบูรณาการในห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Integration)
- การบูรณาการกระบวนการภายในธุรกิจให้เป็นแบบไร้รอยตะเข็บ
- การบูรณาการกับกระบวนการภายนอก
- การบูรณาการทางเทคโนโลยีการสื่อสารและสารสนเทศ

การนำระบบสารสนเทศไปใช้ในการจัดการด้าน Supply Chain
     การจัดการเชื่อมกิจกรรมต่างๆ ที่สัมพันธ์กันระหว่างผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย และลูกค้า

   
Supply Chain Management

-การจัดกลุ่มของกิจกรรมงาน กล่าวคือ ตั้งแต่การรับวัตถุดิบมาจาก Supplies แล้วเปลี่ยนวัตถุดิบให้เป็นสินค้าขั้นกลาง และสินค้าขั้นสุดท้าย จนกระทั่งจัดส่งสินค้าให้แก่ลูกค้า
-สิ่งที่จะทำให้เข้าใจถึงหน้าที่ของการผลิตและวิธีการควบคุมการผลิตนั้น มีอยู่ 2 สิ่งหลักๆ คือ
     - วัตถุดิบ (Materials)
     - สารสนเทศ (Information)

ปัญหาคือความสนใจที่แตกต่างกันของผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น
     - ลูกค้ามักต้องการสินค้าที่ถูกต้อง