วันศุกร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บทที่ 9 E-Government

ความหมาย e-government
ประกอบด้วยหลักการที่เป็นแนวทาง 4 ประการคือ
     1. สร้างบริการตามความต้องการของประชาชน
     2. ทำให้รัฐและการบริการของรัฐเข้าถึงได้มากขึ้น
     3. เกิดประโยชน์แก่สังคมโดยทั่วกัน
     4. มีการใช้สารสนเทศที่ดีกว่าเดิม

e-government คือ วิธีการบิรหารจัดการภาครัฐสมัยใหม่ที่เน้นการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเครือข่ายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของผลงานภาครัฐ และปรับปรุงการบริการแก่ประชาชน และการบริการด้านข้อมูลเพื่อเพิ่มอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ

1. รัฐ กับ ประชาชน (G2B)
     เป็นการให้บริการของรัฐสู่ประชาชนโดยตรง โดยที่บริการดังกล่าวประชาชนจะสามารถดำเนินธุรกรรม โดยผ่านเครือข่ายสารสนเทศของรัฐ

2. รัฐ กับ เอกชน (G2B)
     เป็นการให้บริการภาคธุรกิจเอกชน โดยที่รัฐจะอำนวยความสะดวกต่อภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมให้สามารถแข่งขันกันโดยความเร็วสูง มีประสิทธิภาพ

3. รัฐ กับ รัฐ (G2G)
     เป็นรูปแบบการทำงานที่เปลี่ยนเเปลงไปมากของหน่วยราชการ ที่การติดต่อสื่อสารระหว่างกันโดยกระดาษและลายเซ็นต์ในระบบเดิมในระบบราชการเดิม จะมีการเปลี่ยนแปลงไปด้วยการใช้ระบบเครือข่ายสารสนเทศ และ ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็นเครื่องมือในการแลกเปลี่ยนข้อมูลอย่างเป็นทางการเพื่อเพิ่มความเร็วในการดำเนินการ ลดระยะเวลาในการส่งเอกสารและข้อมูลระหว่างกัน

4. รัฐ กับ ข้าราชการและพนักงานของรัฐ (G2E)
     เป็นการให้บริการที่จำเป็นของพนักงานของรัฐกับรัฐบาล โดยที่จะสร้างระบบเพื่อช่วยให้เกิดเครื่องมือที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน และการดำรงชีวิต

ตัวอย่างโครงการ
การจัดซื้อจัดจ้างอิเล็กทรอนิกส์ของรัฐบาล
     เป็นกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานของรัฐ บนระบบอินเตอร์เน็ตด้วยกิจกรรม
     - การตกลงราคา
     - การประกวดราคา
     - การจัดซื้อด้วยวิธีพิเศษ
     - การประมูล

วัตถุประสงค์การจัดซื้อจัดจ้างอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ (E-Procurement)
     - เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดจ้างสินค้าและบริการให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้
     - เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์อันดีไม่ว่าจะเป็นกระบวนการตรวจสอบและการเปิดเผยต่อสาธารณะชน
     - เพื่อประหยัดงบประมาณค่าใช้จ่ายจากที่เดิมที่มักจะจัดซื้อจัดจ้างในราคาที่ค่อนข้างสูง

1.ระบบ E-Tending ระบบการยื่นประมูลอิเล็กทรอนิกส์ เป็นระบบการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่มีมูลค่าสูง กระบวนการสลับซับซ้อน

2.ระบบ E-Purchasing ระบบจัดซื้อจัดจ้างอิเล็กทรอนิกส์ แบ่งออกเป็น 2 ระบบย่อย
     - ระบบ E-Shopping ระบบการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่มีมูลค่าไม่สูง กระบวนการสลับซับซ้อนไม่มาก  การลงทุนเพื่อจัดทำระบบ E-Shopping จะมีความคุ้มทุนก็ต่อเมื่อมีความถี่ในการซื้อสินค้าบ่อยครั้ง
     - ระบบ E-Auction เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้างและบริการที่มีมูลค่าสูงหรือประมาณมาก และมีกระบวนการดำเนินงานที่ไม่สลับซับซ้อนมากนัก




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น